ประเพณีและวัฒนธรรม จังหวัดลพบุรี

งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 
บริเวณพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ 

จัดขึ้นในช่วงวันที่  16-21 กุมภาพันธุของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เริ่มต้นงานด้วยพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีขบวนแห่ต่างๆ การแสดงการละเล่น การประดับประทีบโคมไฟตลอดจนการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง

ประเพณีกำฟ้า  เป็นงานบุญของชาวไทยพวน  ที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอบ้านหมี่จัดขึ้นเพื่อขอพรจากเทพยดาเพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล  ชาวไทยพวนจะถือเอาวันขึ้น  2  ค่ำเดือน  3  เป็นวันสุกดิบและรุ่งขึ้น  3  ค่ำเดือน  3  จะเป็นวันกำฟ้าโดยงานจะมีการใส่บาตรด้วยข้าวหลามและข้าวจี่  ตกบ่ายจะมีการละเล่นพื้นบ้าน  เช่น  มอญซ่อนผ้า  ช่วงชัย  เป็นต้น

ประเพณีใส่กระจาด  หรือประเพณีเสื่อกระจาด  ตามภาษาพวนเรียกว่า  “ใสกระจาด”  จัดขึ้นในงานเทศกาลเทศมหาชาติในช่วงฤดูออกพรรษา  คือเดือน  11  ข้างแรม  ก่อนถึงวันใส่กระจาดหนึ่งวันชาวบ้านจะช่วยกันทำขนมห่อข้าวต้ม  ตำข้าวปุ้น  รุ่งขึ้นถึงวันใส่กระจาดชาวบ้านจะนำของ  เช่น  กล้วย  อ้อย  ส้ม  ธูป  เทียน  หรือสินค้าอื่นๆมาใส่กระจาดตามบ้านของคนรู้จัก  จากนั้นเจ้าของบ้านก็จะนำอาหารที่เตรียมไว้มาเลี้ยงรับรองแขก  เมื่อจะกลับแขกก็จะนำข้าวต้มมัดฝากให้  เรียกว่า  “คืนกระจาด”  ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันเทศมหาชาติจะนำของที่แขกมาใส่กระจาดทำเป็นกัณฑ์ไปถวายพระที่วัด

ประเพณีชักพระศรีอาริย์  วัดไลย์  หรือแห่พระศรีอารีย์  จัดในวันขึ้น  15 ค่ำเดือน 6 ซึ่งตรงกับวัน วิสาขบูชาของทุกปี ทางจังหวัดจะจัดอัญเชิญพระศรีอาริย์มาประดิษฐานบนแท่นตะเฆ่ แล้วให้ประชาชนร่วมกันชักพระไปทางทิศเหนือ

ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ในจังหวัดลพบุรีมีประเพณีกวนข้าวทิพย์อยู่หลายแห่งโดยเฉพาะที่วัดนิคมสามัคคีชัย  ตำบลนิคม  อำเภอเมือง  โดยมีมานานกว่า  20  ปีแล้ว  โดยจะทำในวันขึ้น  14  ค่ำเดือน  6  และจะนำไปถวายในวันพระขึ้น  15  ค่ำเดือน  




Leave a Reply.