Picture
ตั้งอยู่หลัง “โรงภาพยนตร์ทหารบก” ห่างจากวงเวียนสระแก้วไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร สวนสัตว์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 สมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้มุ่งพัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นเมืองสำคัญ โดยได้ก่อสร้างสิ่งต่างๆ มากมายรวมทั้งสวนสัตว์แห่งนี้ด้วย ต่อมาเมื่อสิ้นยุคสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สวนสัตว์ก็พลอยถูกทอดทิ้งและร้างไปในที่สุด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ศูนย์สงครามพิเศษ ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งชมรม สโมสร พ่อค้า ประชาชน ดำเนินการปรับปรุงบูรณะสวนสัตว์ขึ้นใหม่ ให้เป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งสำหรับศึกษาหาความรู้ ในเรื่องสัตว์และพืชนับเป็นสวนสัตว์ที่มีความสมบูรณ์พอสมควร แก่การบริการประชาชนในท้องถิ่น สวนสัตว์แห่งนี้เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 น.-17.30 น. ค่าผ่านประตู ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท รถยนต์ 10 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 3551 


 
Picture
อยู่ในเขตตำบลนิคมสร้างตนเอง ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศตะวันออกประมาณ 16 กิโลเมตร

อ่างซับเหล็กเป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติที่มีมาแต่โบราณ ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงโปรดให้ช่างชาวฝรั่งเศสและชาวอิตาเลียนเป็นผู้วางท่อส่งน้ำจากอ่างซับเหล็ก นำมาใช้ในเขตพระราชฐาน

อ่างซับเหล็กมีเนื้อที่ประมาณ 1,760 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2497 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้สร้างเขื่อนดินกั้นน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 จังหวัดลพบุรีได้ปรับปรุงอ่างซับเหล็กให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยทำถนนรอบอ่างเก็บน้ำ ปลูกต้นไม้และสร้างศาลาพักร้อน


 
Picture
อยู่ที่หมู่ 7 ตำบลห้วยขุนราม อยู่ห่างจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 26.5 กิโลเมตร เป็นแหล่งโบราณคดีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 2,500-3,000 ปี ประมาณยุค “บ้านเชียงตอนปลาย” มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณถึง 13 โครงกระดูกภายในหลุมเดียวกัน
นอกจากนี้ชมรมอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี และทรัพยากรธรรมชาติบ้านโป่งมะนาว ยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 6 ประจำปี 2549 เนื่องจากได้อบรมเยาวชนในท้องถิ่นให้เป็นยุวอาสาสมัคร ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อนำชมพิพิธภัณฑ์ ส่งผลให้เยาวชนมีความรู้เรื่องท้องถิ่นอย่างถ่องแท้และมีจิตสำนึกในการรักษา หวงแหนแผ่นดินเกิด การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรี ใช้เส้นทางสายลพบุรี - โคกตูม - พัฒนานิคม - อ.วังม่วง (สระบุรี) เข้าทางเดียวกับน้ำตกสวนมะเดื่อ ไม่มีรถประจำทางผ่าน 


 
Picture
ตั้งอยู่ที่บ้านลังกาเชื่อม ตำบลสำสนธิ ตำบลกุดตาเพชร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 96,875 ไร่ เป็นที่ราบอยู่ในหุบเขา ถูกกั้นด้วยเทือกเขาพังเพย ทิศตะวันตกเป็นเขารวก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 140-846 เมตร ความสำคัญของพื้นที่ คือ ป่าซับลังกามีสภาพสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำลำสนธิ และแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ปัจจุบันยังมีเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนอาศัยอยู่

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ จัดไว้ 2 เส้นทาง
เส้นทางแรก คือ ห้วยพริก-น้ำตกผาผึ้ง-ถ้ำผาผึ้ง ระยะทางไป-กลับประมาณ 3,200 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที เป็นเส้นทางที่ไม่ลำบากเกินไปนักสำหรับนักท่องธรรมชาติหน้าใหม่ ระหว่างเส้นทางจะผ่าน น้ำตกผาผึ้ง ซึ่งเป็นน้ำตกเล็กๆ แต่มีความสวยงามเพราะบรรยากาศรอบข้างที่ร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่นานาพรรณ และเหมาะสำหรับเป็นจุดพักระหว่างทาง และหากชื่นชมธรรมชาติด้วยความสงบอาจมีโอกาสได้เห็นสัตว์เล็กๆ เช่น เต่า และ นกต่างๆ ออกมาให้ได้ยลโฉม จากนั้นเดินต่อไปยังถ้ำผาผึ้งก่อนที่จะต้องใช้ฝีมือในการปีนป่ายหินแหลมคม เพื่อชมดงจันทน์ผาซึ่งเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ที่มีรูปทรงงดงาม และในช่วงปลายฝนต้นหนาวกล้วยไม้รองเท้านารีที่ซ่อนตัวอยู่ในดงจันทน์ผานี้ จะเบ่งบานพร้อมกันในฤดูนี้

สำหรับจุดเริ่มต้นเดินเท้าเส้นทางนี้ คือ ห้วยแม่พริก ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการเป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร ต้องใช้รถที่สภาพดี กำลังดี พร้อมที่จะลุยทางลูกรังที่ค่อนข้างเละ แต่ผู้ที่ไม่มีรถและไปกันเป็นคณะ สามารถว่าจ้างรถอีแต๋นของชาวบ้านซึ่งเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นด้วย โดยติดต่อล่วงหน้าผ่านป่าไม้จังหวัดลพบุรีที่ โทร. 0 3645 1936

เส้นทางที่ 2 เส้นทางห้วยประดู่ – ถ้ำพระนอก – ถ้ำสมุยกุย เส้นทางนี้สามารถเลือกเดินเท้า หรือล่องแพ เป็นเส้นทางธรรมชาติที่สวยงาม และยังได้ชมความลึกลับของถ้ำพระนอก และถ้ำสมุยกุยอีกด้วย

นอกจากเส้นทางศึกษาธรรมชาติทั้ง 2 เส้นทาง ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกายังมีไฮไลท์ ที่ให้ทุกท่านเดินทางเข้าชมธรรมชาติด้วยรถอีแต๋น และชมดอกกระเจียวยักษ์อีกด้วย ช่วงเวลาที่เหมาะในการท่องเที่ยวธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จะเป็นในช่วงฤดูฝน เพราะผืนป่าซับลังกาจะสมบูรณ์เต็มที่ อัตราค่าธรรมเนียมเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท

สิ่งที่ควรนำไปด้วย สำหรับการเที่ยวที่ซับลังกา คือ รองเท้าที่กระชับรัดกุมเพื่อความคล่องตัวในการเดินย่ำน้ำตกและโขดหินลื่นหรือปีนป่าย
หน้าผาหินแหลมคม ยาทากันยุง

การเดินทางไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านจังหวัดสระบุรี ไปตามเส้นทางหมายเลข 21 ( สระบุรี – ชัยบาดาล) เลี้ยวขวาเข้าอำเภอชัยบาดาลไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 205 (ชัยบาดาล – ลำสนธิ) อีก 31 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอลำสนธิ 2 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าตำบลวังเชื่อม อีก 37 กิโลเมตร ถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา รวมระยะทางจากกรุงเทพฯประมาณ 260 กิโลเมตร 


 
Picture
จังหวัดลพบุรี มีการปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ 200,000 – 300,000 ไร่ ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ทานตะวันเป็นพืชทนแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกแทนข้าวโพด เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการ นิยมใช้สกัดทำน้ำมันปรุงอาหาร หรืออบแห้ง เพื่อรับประทาน หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และยังสามารถเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพส่งเสริมได้อีกด้วย จึงทำให้ได้ผลผลิต คือ น้ำผึ้งจากดอกทานตะวันอีกทางหนึ่ง โดยแหล่งที่ปลูกทานตะวัน จะกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล พื้นที่ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บริเวณเขาจีนแล ใกล้วัดเวฬุวัน ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง
การเดินทาง จากลพบุรี ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน (ลพบุรี-สระบุรี) ถึงกิโลเมตรที่ 4 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3017 (ทางไปตำบลโคกตูม) ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร จะถึงทางเข้าวัดเวฬุวัน (ด้านซ้ายมือ) เลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงทุ่งทานตะวัน สำหรับรถโดยสารประจำทาง มีรถสองแถวลพบุรี – วังม่วง ผ่านทางเข้าวัดเวฬุวัน รถออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา 06.00 – 17.30 น.
นอกจากนี้ยังมีแหล่งปลูกทานตะวันกระจัดกระจายไปตามเส้นทางที่จะไปอำเภอพัฒนานิคม บริเวณช่อง 

 
Picture
ตั้งอยู่ที่บ้านแก่งเสือเต้น ตำบลหนองบัว เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้กับเขื่อนแห่งนี้ สร้างภายใต้โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 4,860 เมตร ความสูงที่จุดสูงสุด 36.50 เมตร จุดเด่นที่น่าสนใจภายในเขื่อน ได้แก่ จุดชมวิวสันเขื่อพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งแสดงความรู้ด้านธรรมชาติ และวัฒนธรรม ร้านจำหน่ายของที่ระลึกของชาวบ้าน เช่น ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดทานตะวัน น้ำผึ้ง ไข่เค็มดินสอพอง ในวันหยุดมีรถรางวิ่งพาชมทัศนียภาพบริเวณเขื่อน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3649 4031-4

การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรีใช้เส้นทางลพบุรี - โคกตูม - พัฒนานิคม (ทางหลวงหมายเลข 3017) ระยะทาง 48 กิโลเมตร มีบริการรถสองแถวลพบุรี - วังม่วง ผ่านหน้าเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ รถออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา 06.00 - 17.30 น.
นอกจากนี้ยังมีบริการท่องเที่ยวทางรถไฟขบวนพิเศษ ไป - กลับ กรุงเทพฯ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2220 4334, 1690 และนักท่องเที่ยวยังสามารถเลือกใช้บริการนั่งรถไฟชมเขื่อนได้ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟลพบุรี โทร. 0 3641 1022

แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
เขาพญาเดินธง ห่างจากเขื่อน 10 กม. (ตามเส้นทางไปเขื่อนเข้าซอย 15) สามารถใช้รถกระบะขับขึ้นถึงยอดเขาเพื่อชมวิวได้ สอบถาม อบต.พัฒนานิคม โทร. 0 3663 9042


 
Picture
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าดินดำ น้ำตกวังก้านเหลืองนี้ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เนื่องจากมีต้นน้ำเกิดจากตาน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ห่างจากบริเวณน้ำตกประมาณ 1.5 กิโลเมตร

การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรีไปน้ำตกวังก้านเหลืองใช้เส้นทางลพบุรี-โคกสำโรง (ทางหลวงหมายเลข 1) จากนั้นใช้เส้นทางโคกสำโรง-ชัยบาดาล (ทางหลวงหมายเลข 205 ) ถึงบริเวณที่บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 21 แล้วต่อเข้าทางหลวงหมายเลข 2089 ไปอำเภอท่าหลวงประมาณ 12 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าตัวน้ำตกอีกประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกวังก้านเหลืองซึ่งจะอยู่ทางขวามือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3634 7105-6, 0 3634 7446 


 
Picture
ตั้งอยู่ริมทางรถไฟด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงเรียกกันมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า “ศาลสูง” ที่ทับหลังซึ่งทำด้วยศิลาทรายสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน ณ ที่นี้ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณด้วย

ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ยืน ทำด้วยศิลา 2 องค์ องค์เล็กเป็นแบบเทวรูปเก่าในประเทศไทย องค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี แต่พระเศียรเดิมหายไป ภายหลังมีผู้นำพระเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยามาสวมต่อไว้ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
        ในบริเวณรอบศาลพระกาฬร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงกว่า 300 ตัว ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลพบุรี กล่าวกันว่าเดิมบริเวณนี้เต็มไปด้วยต้นกร่างขนาดใหญ่ มีลิงอาศัยอยู่ เมื่อมีคนนำอาหารและผลไม้มาแก้บนที่ศาลพระกาฬ ลิงป่าเหล่านั้นได้เข้ามากินอาหาร จึงเชื่องและคุ้นเคยกับคนมากขึ้น 


 
Picture
ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ ห่างจากปรางค์แขกประมาณ 300 เมตร ทางทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สำหรับเป็นที่รับรองราชทูตที่มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เมืองลพบุรี คณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2228 ได้พำนัก ณ ที่แห่งนี้ ต่อมา Constantine Phaulkon (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ซึ่งเป็นชาวกรีกได้เข้ามารับราชการได้รับความดี ความชอบ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นถึง “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์” และได้พระราชทานที่พักอาศัยให้ทางทิศตะวันตกของบ้านหลวงรับราชทูต
พื้นที่ในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูตแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

ส่วนทิศตะวันตก เป็นอาคารที่พักอาศัยของคณะทูต ได้แก่ ตึก 2 ชั้นหลังใหญ่ก่อด้วยอิฐ และอาคารชั้นเดียว แคบยาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม
ส่วนกลาง มีอาคารที่สำคัญ คือ ฐานของสิ่งก่อสร้างซึ่งเข้าใจว่าเป็นหอระฆังและโบสถ์คริสตศาสนา ซึ่งอยู่ทางด้านหลังซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปจั่ว
ส่วนทิศตะวันออก ได้แก่ กลุ่มอาคารใหญ่ 2 ชั้น มีบันไดขึ้นทางด้านหน้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ซุ้มประตูทางเข้ามีลักษณะเช่นเดียวกับทางทิศตะวันตก
ลักษณะของสถาปัตยกรรมในบ้านหลวงรับราชทูตบางหลัง เป็นแบบยุโรปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออก ก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตูแสดงให้เห็นลักษณะศิลปะตะวันตกแบบเรอเนสซองส์ ซึ่งเจริญแพร่หลายในสมัยนั้น และที่สำคัญ คือ อาคารที่เป็นโบสถ์คริสตศาสนา ผังและแบบของโบสถ์เป็นแบบยุโรป มีซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้ว มีเสาปลายเป็นรูปกลีบบัวยาวซึ่งเป็นศิลปะไทย โบสถ์เหล่านี้ถือกันว่าเป็นโบสถ์คริสต์หลังแรกในโลกที่ตกแต่งด้วยลักษณะของ โบสถ์ทางพระพุทธศาสนา นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ระหว่างเวลา 07.00-17.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 2510, 0 3641 3779


 
Picture
ตั้งอยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 4 กิโลเมตร
พระที่นั่งแห่งนี้ เป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่งของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช องค์พระที่นั่งตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลชุบศร ซึ่งในสมัยโบราณเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีเขื่อนหินถือปูนล้อมรอบ สมเด็จพระนารายณ์ฯโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อทรงสำราญพระราชอริยาบถ บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ประพาสป่าล่าช้าง บริเวณภูเขาทางทิศตะวันออก แล้วจะกลับเข้าเสด็จประทับ ณ พระที่นั่งองค์นี้ พระที่นั่งเย็นสร้างขึ้นในปีใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการที่พระนารายณ์ฯได้ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากประเทศฝรั่งเศส ณ พระที่นั่งนี้ จึงเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่าพระที่นั่งเย็นได้สร้างก่อน พ.ศ. 2228 ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นพระที่นั่งชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน มีผนังเป็นทรงจตุรมุข ตรงมุขหน้าเป็นมุขเด็จยื่นออกมา และมีสีหบัญชรกลางมุขเด็จสำหรับสมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จออก ซุ้มหน้าต่างและซุ้มประตู ทำเป็นซุ้มเรือนแก้ว เป็นแบบแผนที่นิยมทำกันมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ สภาพปัจจุบันเหลือแต่ผนัง เครื่องบนหักพังหมดแล้ว

ในบริเวณพระที่นั่งเย็นมีอาคารเล็กๆ ก่อด้วยอิฐ ซึ่งทำประตูหน้าต่างเป็นแบบโค้งแหลม เข้าใจว่าคงเป็นที่พักทหาร ด้านหน้าและด้านหลังพระที่นั่งมีเกยทรงม้าหรือช้างด้านละแห่ง

พระที่นั่งเย็นมีความสำคัญทางดาราศาสตร์ ในฐานะที่สมเด็จพระนารายณ์ฯใช้เป็นสถานที่สำรวจจันทรุปราคา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 และทอดพระเนตรสุริยุปราคา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2231 ร่วมกับบาทหลวงเยซูอิตและบุคคลในคณะทูตชุดแรกที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศสส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี เหตุที่ได้ใช้พระที่นั่งเย็นเป็นที่สำรวจจันทรุปราคามีบันทึก ของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่าเป็นที่เหมาะสมสามารถมองท้องฟ้าได้ทุกด้าน และมีพื้นที่กว้างมากพอสำหรับที่จะติดตั้งเครื่องมือ ยังมีภาพการสำรวจจันทรุปราคาที่พระที่นั่งเย็นซึ่งชาวฝรั่งเศสวาดไว้ เป็นรูปสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสวมลอมพอก ทรงกล้องส่องยาววางบนขาตั้ง ทอดพระเนตรดวงจันทร์จากสีหบัญชรของพระที่นั่งเย็น และตรงเฉลียงสองข้างสีหบัญชรด้านหนึ่งมีขุนนางหมอบกราบ อีกด้านหนึ่งมีนักดาราศาสตร์กำลังสังเกตการณ์โดยใช้กล้องส่อง จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ณ พระที่นั่งเย็น เมืองลพบุรีนี้เอง

ส่วนทะเลชุบศรในสมัยโบราณนั้นเป็นที่ลุ่มน้ำขังอยู่ตลอด สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทำนบใหญ่กั้นน้ำไว้ เพื่อชักน้ำจากทะเลชุบศรผ่านท่อน้ำดินเผาไปยังเมืองลพบุรี ปัจจุบันยังเห็นเป็นสันดินปรากฏอยู่ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 3779, 0 3641 2510


    สถานที่ท่องเที่ยวลพบุรี

    Archives

    July 2012

    Categories

    All